บวบยัดไส้กุ้งนึ่ง  

  วันนี้มานำเสนอเมนูบวบเหลี่ยม
มีคุณค่าทางอาหารมากๆเลย  คน
ที่ชอบนิ่มๆอาจจะใช้เวลาในการผัด ซักหน่อย สำหรับคนที่ไม่ชอบทาน ผัดบวบแนะนำมาผัดแบบนิ่มจะได้
รสชาดหน่อยจ้าเวลาที่เรารับประ ทานเข้าไปจะ ได้น้ำฉ่ำๆ จากการ
เคี้ยวเนื้อบวบเชียวนะค่ะที่นี่เรามา
ลองดูวิธีการ ทำกันค่ะ

...รายละเอียด


น้ำกระเจี๊ยบ

ล้างกระเจี๊ยบให้สะอาด เด็ดเฉพาะ
กลีบเลี้ยง ใส่น้ำลงในหม้อ ใส่กลีบ
เลี้ยง กระเจี๊ยบต้มจนเดือด ประมาณ 30-40 นาที

...รายละเอียด

 

 

 

 

 

 


หน้านี้มีทั้งหมด ลิงค์

น้ำเต้า

ลักษณะทั่วไปของน้ำเต้า 

   ถ้าใครที่ชอบดูหนังจีน จะเห็นว่าบางทีภาชนะใส่น้ำยอดฮิตที่ใช้ใน หนังก็คือ น้ำเต้าแห้งแขวนปุเลง ๆ ไว้ตามเอวของบรรดาตัวเอกจอมยุทธ์ ผู้กล้าทั้งหลาย ได้ไปเที่ยวตามดอยก็เห็นมีขาย รูปร่างเหมือนในหนัง อย่างไรก็อย่างนั้นบางที น้ำเต้าก็อยู่ตามศาลเจ้าจีน คนเขียนเองเคยได้หยอกชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปน้ำเต้า ถามเพื่อนที่เป็นคนจีน เขาบอกว่าหยกอย่างนี้เอาไว้ห้อยคอเด็ก เพื่อให้เด็ก คน นั้นเป็นเด็กดี ว่านอนสอนง่าย คนเราน่าจะรู้จักน้ำเต้ามานานแสนนาน จากฟอส ซิลซากพืชที่พบในแห่งโบราณคดี ที่แม่ฮ่องสอนก็มีเมล็ดน้ำเต้ารวมอยู่ด้วยซึ่ง ก็คงเป็นทั้งอาหาร และของใช้ของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในแถบ บ้าน เรา

แหล่งที่พบน้ำเต้า

   จะเห็นว่าน้ำเต้าสามารถปลูกที่ใดก็ได้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินและถ้า นำ
ไปปลูกก็จะขึ้นอยู่กับ ผู้ที่ปลูกว่ามีการดูแลรักษามาก น้อยเท่าใด นิยมใช้เมล็ด
ในการขยายพันธุ์

การปลูกน้ำเต้า

    จะต้องเตรียมดินให้มีการไถพรวน และยกร่องแปลงปลูกกว้างประมาณ 4 เมตร จะนิยมขุดหลุมปลูกให้กว้าง 15-20 เซนติ
เมตร ลึก 2-3 เซนติเมตร ขุดกลุมห่างกัน 2 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมารองก้นหลุม หลังจากนั้นก็หยอดเมล็ดลงใน
หลุมปลูกที่เตรียมไว้ ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะใช้เมล็ดน้ำเต้าจำนวน 1.5 กิโลกรัม หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนให้มี
ความหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร นำฟางข้าวแห้งหรือหญ้าคาคลุมบนหลุมเพื่อรักษาความชื้นในดินให้มากที่สุดหลังจากนั้น
รดน้ำให้ชุ่มไปเรื่อย ๆ ประมาณ 7- 10 วัน จนกว่าน้ำเต้าจะงอก หมั่นดูแลหากต้นน้ำเต้าขึ้นมาทั้งหมดให้ถอนทิ้งให้เหลือ เพียง 2 ต้นก็พอ เพื่อให้เจริญเติบโตเต็มที่

การดูแลรักษาน้ำเต้าหลังการปลูก

    น้ำเต้าเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ต้องการความชื้นปานกลาง หลังจากต้นโตให้รดน้ำประมาณ 3-5 วัน/ครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับ
สภาพของ ดินปลูก ว่ามีความแห้งแล้งเพียงใด ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ ดินปลูกเริ่มแห้งก้ต้องรดน้ำให้ถี่ขึ้น แต่ต้องคอยดูไม่ให้
ดินแฉะมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรครากเน่า หลังปลูกไปได้ประมาณ 25-30 วัน หรือเริ่มมีใบจริง 4-5 ใบ จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่บริเวณโคนต้น ไม่ควรพรวนดินให้ลึกเกินไป เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อระบบราก
ไปจนถึงต้นเลยทีเดียว

การกำจัดวัชพืช

    ควรจะมีการกำจัดวัชพืชให้น้ำเต้า อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในช่วงที่น้ำ เต้า ยังเล็กอยู่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะคลุมพื้นที่ปลูกทั้งหมด จะช่วยลดการ
กำจัดวัชพืชลงได้บ้างบางส่วน

โรคและแมลง

    น้ำเต้ามีโรคและแมลงรบกวนค่อนข้างน้อย เนื่องจากใบของน้ำเต้ามีกลิ่น
เหม็น แมลงไม่ชอบ มีข้อควรระวังอย่างเดียวคือ เรื่องของการให้น้ำอย่าแฉะเกิน ไป จนทำให้เกิดโรคราก-โคนเน่า

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

    หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 55-60 วัน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้เราเลือกผลที่เหมาะที่จะนำมารับประทานมากที่สุด
ให้สังเกตในช่วง หลังดอกบาน 6-7 วัน ให้เริ่มทยอยเก็บ จะเก็บในลักษณะวันเว้นวัน ทำเช่นนี้ไปจนหมดผลผลิต

การใช้ประโยชน์ของน้ำเต้า

    ผลน้ำเต้าสามารถนำมารับประทานกับน้ำพริก ผัดกับหมูและไข่ แกงส้ม สรรพคุณทางยา ใบ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหาย น้ำ แก้เริม เป็นต้น

คุณสมบัติในการใช้รักษาโรคของน้ำเต้า

  1. โรคเบาหวาน
  2. ท่อปัสสาวะอักเสบ
  3. โรคปอดอักเสบ จะใช้ส่วนที่เป็นเปลือกสดรับประทาน
  4. แก้ปวดฝีในเด็ก โดยใช้น้ำเต้าหั่นเป็นชิ้นๆ ผสมขิงต้มเป็นน้ำซุปรับประทาน
  5. โรคลูกอัณฑะบวมให้ใช้ลูกน้ำเต้ามาต้มรับประทาน
  6. โรคทางลำคอให้ใช้ลูกน้ำเต้าที่แก่ ๆ ตัดจุกแล้วใส่น้ำไว้รับประทาน
    เป็นโรคประจำจะสามารถป้องกันรักษาโรคทางลำคอได้

 

 

ข้อมูลจาก:   www.vegetweb.com